Tuesday, August 30, 2011

The process of problem-based learning: what works and why

Objectives In this review, we portray the process of problem-based learning (PBL) as a cognitive endeavour whereby the learner constructs mental models relevant to problems. Two hypotheses are proposed to explain how learning is driven in PBL; an activation–elaboration hypothesis and a situational interest hypothesis.

Methods Research relevant to these hypotheses is discussed. In addition, research studying the effects of various support strategies used in PBL is reviewed. Finally, we summarise a number of recent studies in which a new ‘micro-analytical’ methodology was used to trace the process of PBL in the natural classroom setting.

Conclusions We conclude that there is considerable support for the idea that PBL works because it encourages the activation of prior knowledge in the small-group setting and provides opportunities for elaboration on that knowledge. These activities facilitate the comprehension of new information related to the problem and enhance its long-term memorability. In addition, there is evidence that problems arouse situational interest that drives learning. Flexible scaffolding provided by cognitively and socially congruent tutors also seems to be reasonably effective, as opposed to ‘hard’ scaffolding represented by, for instance, worksheets or questions added to problems. Small-group work protects against dropout and encourages students to study regularly. Initially, students do not study much beyond the learning issues generated; the development of personal agency in self-study needs time to develop. The extent of learning in PBL results from neither group collaboration only (the social constructivist point of view) nor individual knowledge acquisition only; both activities contribute equally to learning in PBL.

From: Medical Education 2011: 45: 792–806

Friday, July 15, 2011

Test-enhanced learning in medical education

Context In education, tests are primarily used for assessment, thus permitting teachers to assess the efficacy of their curriculum and to assign grades. However, research in cognitive psychology has shown that tests can also directly affect learning by promoting better retention of information, a phenomenon known as the testing effect.

Cognitive psychology research Cognitive psychology laboratory studies show that repeated testing of information produces superior retention relative to repeated study, especially when testing is spaced out over time. Tests that require effortful retrieval of information, such as short-answer tests, promote better retention than tests that require recognition, such as multiple-choice tests. The mnemonic benefits of testing are further enhanced by feedback, which helps students to correct errors and confirm correct answers.

Application to medical education Medical educational research has focused extensively on assessment issues. Such assessment research permits the conclusion that clinical expertise is founded on a broad fund of knowledge and effective memory networks that allow easy access to that knowledge. Test-enhanced learning can potentially strengthen clinical knowledge that will lead to improved expertise.

Conclusions Tests should be given often and spaced out in time to promote better retention of information. Questions that require effortful recall produce the greatest gains in memory. Feedback is crucial to learning from tests. Test-enhanced learning may be an effective tool for medical educators to use in promoting retention of clinical knowledge.

Medical Education
Volume 42, Issue 10, pages 959–966, October 2008

Monday, June 20, 2011

เมื่อครูพร้อมศิษย์ก็เกิด จากบทเรียนของก๊วยเจ๋งสู่การเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์และบัณฑิต

ย่อจาก http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9540000074094

ครูชุด 7 ตัวประหลาดนั้นมีปัญหาอย่างหนักทีเดียวกับการให้การศึกษาแก่เด็กพิเศษอย่างก๋วยเจ๋ง พ่อและแม่ในยุคนี้ควรดูไว้นะครับ เพราะตามท้องเรื่องนั้น 6 ตัวประหลาดแกไม่ได้ดูเลยว่า มันสมองระดับที่ก๋วยเจ๋งมีสามารถที่จะเรียนรู้และรับรู้อะไรได้บ้าง

พังเพยของตะวันตกว่าเอาไว้...เมื่อครูพร้อมศิษย์ก็เกิด แต่เมื่อครูไม่พร้อมศิษย์จะเกิดได้อย่างไร?

ความไม่พร้อมและไม่พอของ 7 ตัวประหลาด ตั้งแต่การกระหน่ำสอนวิชาตามความถนัดของตัวเองมีให้แก่ก๋วยเจ๋งแบบไม่บันยะบันยัง นั่นแปลว่าเด็กไอคิวต่ำแบบเขาจะต้องมารองรับวิชาที่ตั้งแต่ทื่อมะลื่อที่สุดยันวิชาล้วงกระเป๋าที่พริ้วไหวที่สุด...ลองนึกดูเอาเองว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นแก่ก๋วยเจ๋ง

สภาพเช่นนั้นเกิดมาตลอด 10 ปี การศึกษาเรื่องหมัดมวยโดยอาจารย์ประหลาดนั้นเกิดขึ้นในภาคกลางคืน แต่เป็นเรื่องน่าแปลกใจเหมือนกันนะครับที่ในภาคกลางวันนั้นก๋วยเจ๋งก็ยังคงฝึกในเรื่องของการควบม้า ยิงธนู ควบคุมทหารในกองทัพ จัดกระบวนทัพ คุมทหารเข้าทะลวงแนวต้านอย่างไร ซึ่งก๋วยเจ๋งก็ทำได้ดีเทียบเท่าเซลุยซึ่งเป็นบุตรของเตมูจินเจงกิสข่าน กิมย้งบรรยายว่า เตมูจินเห็นว่าวิชาหมัดมวยใช้แค่ต่อสู้ป้องกันตัว ไม่เพียงพอที่จะแสดงอาณุภาพในสนามรบสร้างชื่อเสียงป้องกันดินแดนและกลืนกินดินแดนได้ อาจารย์สอนยังคงเป็นเทพเกาทัณฑ์เจอเปอยู่นั่นเอง

...ประเด็นคือว่า ถ้าก๋วยเจ๋งโง่ดักดานเกินเหตุ เขาไม่น่าจะเรียนวิชาทางการทหารแบบนี้ได้ ซึ่งการเป็นแม่ทัพนั้นต้องมองเห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสนามรบได้ เพราะฉะนั้นปัญหาจึงน่าจะอยู่ที่ตัวครูมากกว่าที่ไม่ได้ป้อนในสิ่งที่ถูกต้องให้แก่ลูกศิษย์ หรือ ป้อนกับผิดวิธีทางใดทางหนึ่ง

กิมย้งบรรยายถึงความไม่เอาอ่าวของหกประหลาดว่า แต่ละคนนั้นฝึกวิชาได้ระดับนี้ เพราะใช้เวลายาวนานคร่ำเคร่งฝึกปรือ แต่จะให้ก๋วยเจ๋งใช้เวลาไม่กี่ปีฝึกฝนจนชำนาญในทุกวิชาของทั้งหมด แม้นับเป็นคนฉลาดปราดเปรื่องยังยากยิ่งจะกระทำ อย่าว่าแต่ก๋วยเจ๋งมีสติปัญญาต่ำกว่าธรรมดามาก

ผู้แต่งคนเก่งของเรายังบอกเอาไว้ว่า ยิ่งเร่งสอน ยิ่งเร่งที่จะยัด (เพราะกลัวลูกศิษย์จะแพ้ทำให้ตัวเองเสียหน้าต่อคูชู่กีพรตอมตะ) ความก้าวหน้าในเชิงวิชาบู๊ของก๋วยเจ๋งกลับยิ่งถดถอย “จะเร็วกลับไม่บรรลุ ตะกรามเคี้ยวไม่ละเอียด” แต่แทนที่จะมานั่งดูว่าตัวเองสอนผิดวิธีหรือเปล่า บรรดาตัวประหลาดทั้งหลายกลับยิ่งเคี่ยวเข็ญหนักกว่าเดิมเป็นสองเท่าสามเท่า...

เรื่องมาโอละพ่อเอาตอนนี้ครับ...และเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เจ้าทึ่มก๋วยเจ๋งกลายเป็นจอมยุทธก๋วยขึ้นมา********************************

ครูสำนักที่สามที่เข้ามาตบให้พื้นฐานและสัญชาติญาณของร่างกายมีชื่อว่า “ เบ๊เง็ก” หนึ่งใน 7 อริยเจ้าแห่งสำนักสัจธรรมไพบูลย์หรือช่วนจิน และเป็นศิษย์คนโตของเฮ้งเต๊งเอี๊ยงปรมาจารย์ผู้ก่อตั้งสำนัก ตัวเฮ้งเต้งเอี๊ยงนั้นตามตำนานอีกเหมือนกันบอกว่า สุดท้ายเมื่อสำเร็จมรรคผลแล้วก็ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ ขณะที่ลูกศิษย์ทั้ง 7 ก็ขึ้นไปเป็นเทพอยู่บนสวรรค์เช่นกัน

กิมย้งผูกเรื่องว่า เบ๊เง็ก รู้สึกรำคาญใจกับการที่คูชู่กีศิษย์น้องของตัวเองยังยึดติดอยู่กับเรื่องเอาแพ้เอาชนะกับเจ็ดตัวประหลาด แถมทำท่าว่าจะชนะเสียด้วย เพราะลูกศิษย์ของคูชู่กีนั้นฉลาดล้ำจริงๆ อีกทั้งยังส่งศิษย์ในทางพรตคนหนึ่งขึ้นรมาย้ำนัดแห่งการประลองนั้นด้วย ศิษย์ของท่านคูชู่กีก็คือ อี้จี้เพ้ง ซึ่งใช้ไม่กี่ท่าก็สยบก๋วยเจ๋งได้สำเร็จ

เบ๊เง็กทราบเรื่องดังกล่าวก็เลยเดินทางขึ้นมาเหนือเพื่อมาสอนวิชาและสิ่งที่ก๊วยเจ๋งยังขาดอยู่ แต่ทว่าท่านรู้โดยความฉลาดหรือโดยญาณของท่านว่า ขืนเดินเข้าไปสอนวิชาช่วนจินเอาดื้อๆ ความที่พกโมหะจริตไว้เต็มเหนี่ยวของ 6 ตัวประหลาดก็จะไม่ยอมให้ก๊วยเจ๋งได้เรียนวิชาของช่วนจินอยู่ดี เบ๊เง็กก็เลยต้องมาสอนก๊วยเจ๋งแบบลับๆ บนยอดเขาสูง 2 ต่อ 2 เป็นเวลาสองปีเต็มโดยที่ 6 ตัวประหลาดไม่มีระแคะระคายเลย

“ซือแป๋ทั้งหกของท่านล้วนเป็นบุคคลอันดับเยี่ยมของยุทธจักร ท่านเพียงฝึกวิชาของผู้ใดผู้หนึ่งสำเร็จก็พอจะแสดงฝีมือให้มีชื่อในแผ่นดินได้แล้ว และท่านเองก็มิใช่ไม่มานะพยายามฝึกปรือ แต่ไฉนสิบกว่าปีนี้จึงมีความสำเร็จน้อยนิด ท่านทราบหรือไม่เพราะเหตุใด?” เบ๊เง็กตั้งคำถามกับก๊วยเจ๋งในคราวที่สนทนากันบนยอดเขา

“นั่นเพราะข้าพเจ้าโง่เขลาเกินไป บรรดาซือแป๋ทั้งหมดต่างทุ่มเทจิตใจฝึกสอนก็ฝึกไม่เป็นเสมอมา” ก๋วยเจ๋งตอบ

นั่นมิใช่สิ้นเชิง แต่เป็นการสอนโดยไม่เข้าใจหลัก ฝึกโดยไม่ถูกทาง” เบ๊เง็กกล่าว “เพราะถ้าถกถึงหลักวิชาบู๊ธรรมดา พลังการฝึกปรือของท่านในตอนนี้นับว่าไม่เลวอย่างยิ่ง แต่เมื่อลงมือครั้งแรกกลับโดนี้จี้เพ้งนักพรตน้อยพิชิตพ่ายแพ้ ในใจจึงเกิดท้อแท้รันทด เข้าใจว่าตัวเองใช้ไม่ได้ ฮาฮา นั่นนับว่าผิดพลาดโดยสิ้นเชิงแล้ว...นักพรตน้อยนั้นเอาชนะท่านได้ เพราะล้วนอาศัยกำลังพลิกแพลงเข้าเอาชัย หากถกถึงกำลังประจำตัวมันไม่แน่จะเข้มแข็งเหนือท่าน เยี่ยงนี้เถิด ศรัทธาที่บริสุทธิ์จริงใจของท่านและเราท่านต่างมีวาสนาร่วมกันอยู่ เราจะถ่ายทอดวิธี หายใจ นั่งลง ลุกเดิน และ นอนหลับแก่ท่าน”

กิมย้งอ้างคำพูดของเบ๊เง็กในเคล็ดที่สอนหายใจแก่ก๊วยเจ๋งว่า “ความคิดแน่วแน่ ใจไม่ฟุ้งซ่าน กายผ่อนคลาย เลือดลมปลอดโปร่ง หัวใจสงบ สติปัญญาเปรื่องปราดแจ่มใส ปฏิฐานเพิ่ม นิเสธลด ก่อนนอนต้องให้สมองว่างเปล่าแจ่มใส ไม่มีความคิดฟุ้งซ่านซักน้อยนิด จากนั้นเอนกายตะแคง ผ่อนลมหายใจยาวๆ ช้าๆ ใจไม่คิดวุ่นวาย สติไม่ออกรวนเร”

ก๋วยเจ๋งฝึกหายใจอย่างที้ว่าอยู่ครึ่งปีเศษ เมื่อฝึกวิชาในตอนกลางวันกลับพบว่าร่างกายเบาขึ้นแต่มือเท้าหนักหน่วงกว่าเดิม กำลังที่ไม่สามารถใช้ได้ในกาลก่อนตอนนี้พอยืดมือก็ก่อเกิดพลังพิศดารขึ้นเองตามธรรมชาติ จนหกตัวประหลาดต่างเข้าใจว่าก๋วยเจ๋งสูงวัยและมีความมานะพยายามจนเข้าใจหลักเคล็ดวิชาขึ้นมาเอง

สิ่งที่ก๋วยเจ๋งฝึกนั้น เราเรียกมันในยุทธจักรว่า กำลังภายใน!!